การลงชื่อถอดถอนกรรมการสภาเภสัชกรรม

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

บางครั้ง สมาชิกสภาเภสัชกรรมอาจไม่พอใจการบริหารงานของกรรมการสภาเภสัชกรรม หรือไม่พอใจมติของกรรมการสภาเภสัชกรรม จึงมีความคิดจะหารายชื่อเพื่อถอดถอนกรรมการสภาเภสัชกรรม แล้วเกิดความสงสัยว่าจะสามารถทำได้หรือไม่เพียงใด

เกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการสภาเภสัชกรรมนอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ

พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 21 

“มาตรา 21 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้ง ได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือก พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 14
(2) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 19
(3) ลาออก”

จากมาตราดังกล่าว สรุปเกณฑ์การพ้นตำแหน่งกรรมการสภาเภสัชกรรม นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  มีดังนี้

1. กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัยให้จัดตั้งขึ้นตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอจำนวน 5 คน ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไข ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 21 

2. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง หากเข้ากรณีดังนี้
2.1 ตาย
2.2 ลาออก
2.3 ขาดคุณสมบัติ กรณีหนึ่งกรณีใด คือ 
(1) มีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์
(2) ไม่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยรับรองหรือที่สภาเภสัชกรรมรับรอง 
(3) จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาเภสัชกรรม คือ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเท้าช้าง โรคติดยาเสพติดร้ายแรง โรคจิตต่าง ๆ โรคเรื้อนในระยะแสดงอาการ วัณโรคในระยะอันตราย โรคคุดทะราดหรือโรคผิวหนังอันเป็นที่น่ารังเกียจ ซิฟิลิสในระยะที่ 2 (ระยะที่มีผื่นหรือแผลตามผิวหนัง) โรคอื่นในระยะรุนแรงที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
2.4 คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ กรณีหนึ่งกรณีใด คือ 
(1) ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ หรือ
(2) ต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

3. ขาดคุณสมบัติ คือ
3.1 กรรมการอื่นที่ไม่ใช่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 
3.2 เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
3.3 เคยถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย

4. ลาออก

การลงชื่อถอดถอนกรรมการสภาเภสัชกรรม

แม้ว่ามติกรรมการสภาเภสัชกรรมหรือการบริหารงานของกรรมการสภาเภสัชกรรมทำให้เกิดความเสียหายแก่วิชาชีพ แต่ก็ไม่สามารถลงชื่อถอดถอนกรรมการสภาเภสัชกรรมได้ เนื่องจาก

1. สมาชิกสภาเภสัชกรรมไม่สามารถลงชื่อถอดถอนได้ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 21

2. หากจะให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการสภาเภสัชกรรม ต้องทำให้พ้นจากสมาชิกภาพสภาเภสัชกรรมก่อน ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 21 (1) หรือต้องพบว่ากรรมการสภาเภสัชกรรมขาดคุณสมบัติตามมาตรา 21(2) เช่น มีกรณีเคยถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต บทบาทในการพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นบทบาทของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมซึ่งต้องมีมติของที่ประชุมคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมและต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ก่อน

ข้อสังเกตอื่น ๆ

1. ผู้ตัดสินให้กรรมการสภาเภสัชกรรมผู้ใดพ้นสมาชิกภาพ คือ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ต้องระวังเรื่องมีส่วนได้เสียเพราะเป็นคู่กรณีเสียเอง และมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง จะทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 13(1), 16
2. กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้ง ได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือก หากลาออกเองก็ยุติปัญหาได้ 

3. สมาชิกสภาเภสัชกรรมทำได้เพียงแสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาเภสัชกรรมส่งไปยังคณะกรรมการเภสัชกรรมเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาเภสัชกรรม คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบโดยไม่ชักช้า ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 13(2)
4. สมาชิกสภาเภสัชกรรมมีสิทธิไม่ให้คะแนนในการเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรมครั้งต่อไปได้ แต่หากกรรมการสภาเภสัชกรรมนั้นกลับเข้ามาในช่องทางของกรรมการโดยตำแหน่ง หรือกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้ง ก็ไม่สามารถทำอะไรได้

ข้อความนี้ถูกเขียนใน เรื่องอื่น ๆ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

16 ตอบกลับที่ การลงชื่อถอดถอนกรรมการสภาเภสัชกรรม

  1. kao9 พูดว่า:

    มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื้อการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

    ถูกใจ

  2. นุจจารีย? หลวงจันทร์ พูดว่า:

    มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื้อการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

    ถูกใจ

  3. มุคณิชษร ขุนแก้วพะเนาว์ พูดว่า:

    มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื้อการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

    ถูกใจ

  4. Pitchanat Tipbunkaew พูดว่า:

    มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื้อการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

    ถูกใจ

  5. Tapakorn C. พูดว่า:

    ไม่สามารถเป็นตัวแทนของเภสัชกร ทั้งประเทศได้ และ ความคิดเห็นของกรรมการ มีแนวโน้มสร้างปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในอนาคตได้

    ถูกใจ

  6. ภญ.ณัฐวดี ดิษเทศ พูดว่า:

    ห่วยแตก หนูเป็นเภสัชกรรุ่นลูกรุ่นหลานนายกสภาเภสัช ฟังแล้วไม่น่าทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อวงการเภสัชกรรมได้ ความรู้ทางกฎหมายก็น้อย แก่กะโหลกกะลา แล้วเภสัชกรที่ดีมีจรรยาบรรณเขาจะท้อขนาดไหน ที่มีผู้นำแก่ๆ แบบนี้ในอย. คนดีๆฉลาดๆก็ไม่อยากเข้าไปทำงานด้วย ประเทศชาติก็ถอยหลังลงเรื่อยๆ

    ถูกใจ

  7. จุฑารัตน์ พูดว่า:

    ไม่สามารถเป็นตัวแทนของเภสัชกร ทั้งประเทศได้ และ ความคิดเห็นของกรรมการ มีแนวโน้มสร้างปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในอนาคตได้

    ถูกใจ

  8. พชรอร วรรณภีระ พูดว่า:

    รู้สึกผิดหวังกับการให้สัมภาษณ์ ไม่ได้เชิดชูวิชาชีพแต่กลับทำให้ถอยหลังกว่าเดิม ไม่มีวิสัยทัศน์ การพูดเช่นนี้ส่งผลให้เภสัชกรรุ่นใหม่รู้สึกท้อแท้ และหมดหวังในวิชาชีพ รู้สึกถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิต การที่ท่านพูดออกสื่อไปแล้ว ทำให้ประชาชนรับฟังข้อเท็จจริงที่บิดเบือน ท่านควรออกมารับผิดชอบกับคำพูดของท่าน ไม่ใช่เงียบไปเช่นนี้ ถ้าอย่างนั้นเราจะมีสภาเภสัชกรรมที่เป็นตัวแทนของเราทำไม

    ถูกใจ

  9. Narichaya kp พูดว่า:

    นายกสภาเภสัชกรรม และกรรมการ ไม่ให้เกียรติในผู้ร่วมวิชาชีพ ไม่ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ทำลายชื่อเสียงของวิชาชีพ ไม่มีความรับผิดชอบในสิ่งที่นายกสภาเภสัชกรรมทำไว้ ในการให้สัมภาษณ์ ซึ่งทำให้มีการเข้าใจผิด บิดเบือนในวิชาชีพ การแสดงความคิดเห็น โดยเอาตนเป็นที่ตั้ง ไม่ได้รับฟังจากเภสัชกรทั่งทั้งประเทศ

    ถูกใจ

  10. ปาณิศา​ ไชย​พงศ์​ พูดว่า:

    ไม่พัฒนาวิชาชีพ​ ไม่เข้าใจในวิชาชีพ​ ไม่รักวิชาชีพ​ควรปลดออกคะ

    ถูกใจ

  11. truepharmacist พูดว่า:

    ยังกล้าเรียกตัวเองว่านายกสภาเภสัชกรรมอยู่อีกหรอคะ
    ออกไปเลยค่ะ

    ถูกใจ

  12. Natasha พูดว่า:

    พูดออกมาได้ไงว่าเรื้องของผู้ใหญ่เด็กอยู่เฉยๆ คนอื้นไม่ทีสิทไม่มีเสียงหรอค่ะ งั้นทำงานกันเองไหมค่ะ5-6นั้นละวนกันไป สงสารเด็กตาดำๆที้เพิ่งเข้าเรียนคณะเภสัชยังไม่จบกันทีบ้าง พูดงี้ใครอยากจะเรียนต่อ. ออกไปเถอะค่ะไม่มีซึ่งเกียรติอับอายแทน

    ถูกใจ

  13. กัญญณัฐภิญญา โสภณดิเรกรัตน์ พูดว่า:

    มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื้อการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

    ถูกใจ

    • กัญญณัฐภิญญา โสภณดิเรกรัตน์ พูดว่า:

      มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื่องการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

      ถูกใจ

  14. วีรยา คลองยวน พูดว่า:

    มีความคิดที่ไม่เหมาะสม จากพรบ.ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื่องการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน ไม่ใช่ใครก็ได้คะท่าน

    ถูกใจ

  15. ขนิษฐา เทนอิสสระ พูดว่า:

    มีความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม จากพรบ. ยาดังกล่าว จะสร้างปัญหาเรื่องการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น