‘กาแฟ-อาหารเสริม’ เสี่ยงพบปลอมปนตัวยา 14 ชนิด

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 หน้า 16

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกคำเตือน ในการใช้ “อาหารเสริม” มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และการผลิตที่อาจไม่ได้มาตรฐาน มีการใช้”ตัวยา”เป็นส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดอันตราย

          นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าระหว่างปี 2556-2559 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการเฝ้าระวังการใช้ยาแผนปัจจุบันในอาหาร 6 กลุ่ม 14 ชนิดตัวยา ได้แก่ 1.กลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ 2.กลุ่มยาลดความอ้วน 3.กลุ่มยาลดความอยากอาหาร 4.กลุ่มยาระบาย 5.กลุ่มยาสเตียรอยด์ และ 6.กลุ่มยานอนหลับ จากตัวอย่างกาแฟสำเร็จรูปชนิดผง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่ม และวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งสิ้น 1,603 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่ากาแฟสำเร็จรูปชนิดผง 462 ตัวอย่าง การตรวจกลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพ ทางเพศ 130 ตัวอย่าง พบซิลเดนาฟิล 33 ตัวอย่าง ทาดาลาฟิล 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 26.2% กลุ่มยาลดความอ้วน 344 ตัวอย่าง พบ ไซบูทรามีน 47 ตัวอย่าง คิดเป็น 13.7% กลุ่ม ยานอนหลับเบนโซไดอะซีปีนส์ 183 ตัวอย่าง พบลอราซีแพม 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.5%

          ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 1,034 ตัวอย่าง จำแนกเป็น กลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ 287 ตัวอย่าง พบซิลเดนาฟิล 86 ตัวอย่าง ทาดาลาฟิล 6 ตัวอย่าง ซิลเดนาฟิลร่วมกับ ทาดาลาฟิล 24 ตัวอย่าง และซิลเดนาฟิล ร่วมกับวาร์เดนาฟิล 7 ตัวอย่าง รวม 123 ตัวอย่าง คิดเป็น 42.9% กลุ่มยา ลดความอ้วน 187 ตัวอย่าง พบ ออลิสแตท 22 ตัวอย่าง 11.8%  กลุ่มยาลดความอยากอาหาร ตรวจวิเคราะห์ 245 ตัวอย่าง พบ เฟนฟลูรามีน 1 ตัวอย่าง หรือ 0.4% กลุ่มยาระบาย พบฟีนอล์ฟทาลีน 1 จาก 245 ตัวอย่าง หรือ 0.4% กลุ่มยาสเตียรอยด์  ตรวจวิเคราะห์ 103 ตัวอย่าง พบ เดกซาเมธาโซน 2 ตัวอย่าง หรือ 1.9% และมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจ พบว่า มียาแผนปัจจุบัน 2 กลุ่ม จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ไซบูทรามีนร่วมกับทาดาลาฟิล 1 ตัวอย่าง และไซบูทรามีน ร่วมกับฟีนอล์ฟทาลีน 2 ตัวอย่าง และยากลุ่มเดียวกัน 2 ชนิด ได้แก่ไซบูทรามีน ร่วมกับออลิสแตท 3 ตัวอย่าง

          เครื่องดื่มเช่น โกโก้ผง เครื่องดื่มผงผสมคอลลาเจน เครื่องดื่มคลอโรฟิลล์ เครื่องดื่มสมุนไพร 66 ตัวอย่าง จำแนกเป็นกลุ่มยาสเตียรอยด์ 41 ตัวอย่าง พบเดกซาเมธาโซน 6 ตัวอย่าง 14.6% และอาหารอื่นๆ ได้แก่ ชาสมุนไพรข้าวกล้องงอก และวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น สารให้กลิ่นรส น้ำตาลมอลโตส สารโคคิวเท็น 41 ตัวอย่าง จำแนกเป็น กลุ่มยาลดความอ้วน ใน 9 ตัวอย่าง พบออลิสแตท 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 11.1%

          ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงของยา โดยยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น มีอาการหัวใจวาย เส้นโลหิตในสมองแตก หัวใจเต้น ผิดปกติ เลือดออกในสมองหรือปอด ความดันโลหิตสูง และเสียชีวิตเฉียบพลัน ไซบูทรามีนทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายและเส้นโลหิตในสมองแตก ส่วน ออลิสแตทอาจส่งผลให้เกิดอาการ ข้างเคียงไม่พึงประสงค์ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและขาดสารอาหาร เป็นต้น

          นพ.สุขุม กล่าวว่า การดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมควรทำด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน อาหาร งดหวาน มัน เค็ม นอกจากนี้อาหารที่มีการปนปลอม ยาแผนปัจจุบันจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์และเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทำให้เสียชีวิตได้

          หากสนใจจะใช้อาหารเสริมต้องมีความรู้และใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ เช่น มีคำรับรองจาก อย. และไม่หลง เชื่อคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หากมีอาการผิดปกติให้หยุดรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ รีบไปพบแพทย์ ทันทีและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อไป

เรื่องนี้ถูกเขียนใน เรื่องอื่น ๆ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s