ข่าวเภสัชกร วันที่ 8-15 สิงหาคม พ.ศ.2561

ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

ความความคืบหน้าในวงการเภสัชกรในระหว่างวันที่ 8-15 สิงหาคม 2561 มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

1. การแข่งขันในวงการร้านยา

ภายหลังจากการสิ้นสุดการรับฟังความเห็นราง พ.ร.บ.ยา ไปไม่นาน ก็เริ่มเห็นข่าวการขยับตัวการเปิดร้านยา เช่น ค่าย BDMS ต้องการเปิดร้านยาเซฟดรัก ทั่วประเทศ (ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9-12 สิงหาคม 2561) แม้แต่ค่าย CPALL ก็เปิดบริษัทออลล์ เวลเนส จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจด้านดูแลสุขภาพ ให้กับชุมชนด้วยนวัตกรรมระบบดิจิตัล และสร้างความสะดวกในการดูแลสุขภาพให้กับชุมชน รวมถึงแนะนําให้คําปรึกษาการดูแลสุขภาพกับชุมชน โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=15337686572761&sequence=2018070564)

2. วิเคราะห์ปัญหาร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. …. (ฉบับรับฟังความเห็น 17-31 กรกฎาคม 2561)

ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ – ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ปัญหา “ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. … ฉบับ อย.” (๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑) ติดตามได้ที่

http://www.thaihealthconsumer.org/news/drugact_fda/

3.การอบรมวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP)

หลังจากที่เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย (ภสท) ได้ประกาศว่าจะมีการอบรม GPP Developer เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ซึ่งภายหลังจากการอบรมนั้น สามารถเยี่ยมพัฒนาร้านยาตาม GPP phase 1 ได้ ทำให้เภสัชกรหลายคนเกิดความสงสัย มีการวิพากษ์วิจารณ์ใน Line หรือในกลุ่ม Facebook ว่า การเปิดอบรมให้กับผู้ที่ไม่ใช่เภสัชกรนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ บางท่านมีความกังวลว่าไม่ควรให้ผู้ที่ไม่ใช่เภสัชกรมาตรวจประเมินร้านยา

จนกระทั่งในที่สุด เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย (ภสท) ได้มีหนังสือเผยแพร่เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดดังกล่าวผ่านหน้า facebook ของสมาคม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมาว่าการอบรมดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การอบรมให้เป็น GPP inspector หรือผู้ตรวจประเมินร้านยา แต่จะเน้นให้ผู้อบรมเข้าใจ และสามารถไปถ่ายทอดให้ร้านเข้าใจและนำไปปฏิบัติต่อได้ รายละเอียดตามภาพข้างล่าง

4. ผ้าม่าน ผ้าคลุมปิดบังยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ

ขณะนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กรณีวัสดุปิดบังยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ และการแสดงเจตนาว่าจะไม่ขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษนั้น เจ้าหน้าที่มีการใช้ดุลพินิจที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ แม้แต่พื้นที่เดียวกัน เจ้าหน้าที่ต่างคนกันก็ใช้ดุลพินิจไม่เหมือนกัน เช่น

– ข้อความแสดงเจตนาว่าไม่ขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษบนม่าน เจ้าหน้าที่บางท่านเห็นว่า ต้องสกรีนติดบนม่านเท่านั้น จะพิมพ์บนกระดาษแล้วติดที่ม่านไม่ได้ บางท่านเห็นว่า ผ่านม่านทุกผืนต้องมีข้อความติดทุกผืน จะติดแค่ผืนเดียวไม่ได้ บางท่านก็เห็นว่าห้ามมีช่องว่างระหว่างผ้าม่านด้วย

– ตู้ที่วางยาคุมกำเนิด วางยาครีมที่เป็นยาอันตราย บางจังหวัดต้องคลุมแล้วปิดป้ายแสดงข้อความไม่ขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ บางจังหวัดไม่ต้องคลุม แค่ติดป้ายแสดงเจตนาว่าไม่ขายยาระหว่างเภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ก็เพียงพอแล้ว

กรณีนี้ ต้องการให้ทุกท่าน ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14905/2556 ว่าศาลตัดสินกรณีนี้อย่างไร สามารถศึกษาได้ที่ https://www.slideshare.net/mobile/rparun/supremecourt14905-2556drug-act2510section32

5. ขอความร่วมมือ

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขอความร่วมมือโรงพยาบาลเอกชน คลินิก ร้านขายยาทั่วประเทศ ให้ระวังการจ่ายยาลดไข้กลุ่มเอ็นเสดทั้งยารับประทานและยาฉีด แก่ผู้ที่มีไข้และช่วยเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ขอให้ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงมีอาการรุนแรง เพื่อให้ได้รับการรักษาและลดอัตราการเสียชีวิต (ไทยรัฐ 15 สิงหาคม พ.ศ.2561 หน้า 12)

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ข่าวเภสัชกร คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s